คีเลชั่นบำบัด การบำบัดด้วยการดูดซับสารพิษและขจัดออก เพื่อล้างพิษในหลอดเลือด
- คีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy) คืออะไร?
- ประโยชน์ที่ได้รับจาก คีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy)
- คีเลชั่นบำบัด Chelation Therapy เหมาะกับใครบ้าง
- ข้อห้ามในการทำ Chelation Therapy
- ควรทำคีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy) เมื่อใด ?
- อาการหลังทำคีเลชั่นและระยะเวลาที่เริ่มเห็นผลการรักษา
- การยอมรับการทำคีเลชั่นบำบัด
คีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy) คืออะไร?
คีเลชั่นบำบัด คือ การล้างพิษหลอดเลือด (Chelation Therapy) หรือที่เรียกว่า การล้างสารพิษ (Recovery Blood) โดยการล้างผ่านทางน้ำเกลือ ที่มีสารประกอบประเภทกรดอะมิโน ที่เรียกว่า EDTA ผสมกับวิตามินและแร่ธาตุ ต่างๆ ซึ่ง EDTA ทำหน้าที่สำคัญ ในการจับสารโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท สารหนู หรือแม้แต่แคลเซียมส่วนเกินซึ่งสะสมตกค้างในเนื้อเยื่อและพอกอยู่ตามผนังหลอดเลือดของเราแล้วขจัดโลหะหนักเหล่านี้ออกผ่านระบบปัสสาวะ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน สามารถใช้วิธีการล้างพิษหลอดเลือด หรือ คีเลชั่นบำบัด เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดบายพาส (Bypass) ได้มากถึง 80% โดยช่วยลดจำนวนอนุมูลอิสระในร่างกาย โลหะหนักที่ตกค้างสะสมจะถูกขจัดออกจากร่างกายผ่านทางระบบทางเดินปัสสาวะ
ประโยชน์ที่ได้รับจาก คีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy)
- ขจัดสารพิษในร่างกายและระบบหลอดเลือด
- ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
- ปรับปรุงการไหลเวียนโลหิต
- ลดความเสี่ยงหลอดเลือดอุดตันและตีบทั้งในสมองและหัวใจ ลดระดับไขมันในเลือดซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ
- ป้องกันโรคความเสื่อมต่างๆ ที่เกิดจากระบบไหลเวียนไม่ดี
- บรรเทาความดันโลหิตสูงและโรคที่เกิดจากระบบไหลเวียนโลหิต เบาหวาน พิษจากโลหะหนัก ปวดศีรษะเรื้อรัง
- ลดการอักเสบของผิวหนัง
- บรรเทาอาการอัลไซเมอร์ ช่วยให้สมองปลอดโปร่งและมีความจำดีขึ้น
คีเลชั่นบำบัด Chelation Therapy เหมาะกับใครบ้าง
- ผู้ที่มีความเสี่ยงในการรับสารพิษจาก โลหะหนัก เช่น อุดฟันด้วยอมัลกัม (สีดำ โลหะวาว) ทานอาหารทะเลที่ปนเปื้อน อาศัยใกล้โรงงานอุตสาหกรรม
- ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบเลือด หลอดเลือดหัวใจและสมอง เช่น ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแข็งหลอดเลือดอักเสบ เบาหวาน ไขมันสูง หลอดเลือดหัวใจอุดตัน หลอดเลือดสมองอุดตัน
- ผู้ป่วยที่ใส่ stent ในหลอดเลือดหัวใจ หรือ รักษาหลังภาวะหลอดเลือดหัวใจฉับพลัน
- ผู้ป่วยหลังหลอดเลือดสมองอุดตัน (stroke)
- ผู้เป็นภูมิแพ้ แพ้ภูมิตนเอง
- ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง
- ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนเรื้อรัง ปวดตึงกล้ามเนื้อเรื้อรัง
- ผู้ที่มีอาการวิงเวียนศีรษะ จากการไหลเวียนของเลือดที่ไม่ดี
- สามารถทำได้ ทุกช่วงอายุ ยกเว้นกลุ่มทารก และ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ
ข้อห้ามในการทำ Chelation Therapy
- เด็กทารก และเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ
- สตรีมีครรภ์
- ผู้ป่วยไตวาย หรือ ภาวะไตบกพร่อง
ควรทำคีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy) เมื่อใด ?
- ผู้ป่วยทั่วไป ที่ไม่ได้มีอาการรุนแรง จากโรคหลอดเลือด ควรทำประมาณ 10-20 ครั้ง ความถี่ 1-2 ครั้ง ต่อ สัปดาห์
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หลอดเลือดหัวใจและสมอง หรือ มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง เช่น เบาหวาน ความดันสูง ไขมันสูง ควรทำประมาณ 20-30 ครั้ง ความถี่ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์
- ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองมาก่อน หรือ กำลังใส่ Stent, Balloon หรือจำเป็นต้องผ่าตัดหรือใส่ stent แต่ไม่สามารถผ่าตัดได้ เนื่องจากสภาวะร่างกายไม่พร้อม ควรทำคีเลชั่นประมาณ 30 ครั้งขึ้นไป
อาการหลังทำคีเลชั่นและระยะเวลาที่เริ่มเห็นผลการรักษา
หลังทำครั้งที่ 1-5 ครั้งแรก อาจมีอาการที่เรียกว่า Healing Crisis เนื่องมาจาก ร่างกายได้ปล่อยสารอักเสบและสารโลหะหนักออกมาจากเนื้อเยื่อและทางผนังเส้นเลือด เพื่อขับออกทางไต เช่น อาการตัวร้อนต่ำ ๆ ปวดเมื่อยตามตัวเล็กน้อย อ่อนเพลียเล็กน้อย ง่วงนอนมากขึ้น แต่อาการเหล่านี้มักจะเกิดไม่นานเกิน 24 ชม แก้ไขโดยการดื่มน้ำในปริมาณมาก พักผ่อนให้เพียงพอ
การยอมรับการทำคีเลชั่นบำบัด
มาตรฐานการทำคีเลชั่นบำบัดได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐอเมริกา ว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดจากสารพิษโลหะหนัก เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคข้ออักเสบ และโรคอัลไซเมอร์
อย่างไรก็ตาม การทำคีเลชั่นอาจมีความเสี่ยงบางประการในผู้ป่วยบางรายที่มีสภาพร่างกายที่อ่อนแออยู่แล้ว อาจส่งผลให้เกิดอาการดังนี้ เช่น อาการแพ้ ความดันโลหิตต่ำ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น ผู้ที่สนใจทำคีเลชั่นบำบัดควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับอย่างเหมาะสม
*ที่มาข้อมูล:
- เว็บไซต์ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
- เว็บไซต์องค์การอนามัยโลก (WHO)
- เว็บไซต์กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข