วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง ควรฉีดเมื่อใด

วัคซีน (vaccine) เป็นชีววัตถุที่จัดเตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายของเราสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้น ๆ กล่าวคือ วัคซีนมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้เชื้ออ่อนฤทธิ์ลง, ทำให้เชื้อตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนนั้นๆ ได้รวดเร็วขึ้นเมื่อได้รับอีกในภายหลัง

วัคซีนระยะเริ่มแรก เป็นการนำเชื้อมาทำให้ตาย(เชื้อตาย) หรือการใช้เชื้อที่อ่อนฤทธิ์เท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์มาช่วยในการพัฒนาโดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และมีความพยายามพัฒนาวัคซีนโดยการสังเคราะห์แอนติเจนในการผลิตซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) อีกด้วย

วัคซีนพื้นฐาน เป็นวัคซีนที่เด็กไทยทุกคนควรได้รับ เน้นวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ โดยกระทรวงสาธารณสุขจัดระบบบริการเพื่อให้เด็กทุกคนในประเทศได้รับวัคซีนตามกำหนด โดยให้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐเป็นหน่วยบริการหลัก

วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก เป็นวัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็กทุกคน หนึ่งในวิธีการดูแลสุขภาพเด็ก เพื่อปกป้องพวกเขาจากโรคที่ร้ายแรงและอาจถึงแก่ชีวิตได้ วัคซีนเหล่านี้มักให้ฟรีหรือมีราคาไม่แพง และสามารถป้องกันโรคต่างๆ เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม โปลิโอ คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และตับอักเสบบี วัคซีนเหล่านี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องลูกของคุณจากโรคเหล่านี้ และช่วยให้พวกเขามีสุขภาพที่ดี

ผลข้างเคียงของวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก

ผลข้างเคียงของวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กมักไม่รุนแรงและมักหายไปเองภายในไม่กี่วัน ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ รอยแดง บวม และปวดที่บริเวณที่ฉีดวัคซีน เด็กบางคนอาจมีอาการไข้ อ่อนเพลีย และปวดศีรษะได้ สิ่งสำคัญคือต้องแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีน

วัคซีนพื้นฐานที่เด็กไทยต้องได้รับ มีอะไรบ้าง

วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก แนะนำให้ฉีดตรงตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ ตารางเวลานี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่โดยทั่วไปแล้ว วัคซีนเหล่านี้จะให้กับเด็กตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 12 ปี สิ่งสำคัญคือ ต้องพาลูกของคุณไปรับวัคซีนตามกำหนดเวลา เพื่อให้พวกเขาได้รับการปกป้องจากโรคที่ร้ายแรง

 อายุ  วัคซีนที่ต้องได้รับหมายเหตุ
 แรกเกิดวัคซีนบีซีจี (BCG), โรงพยาบาลฉีดให้เด็กก่อนกลับ
วัคซีนตับอักเสบบี (HB1)ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
 1 เดือนวัคซีนตับอักเสบบี (HB2) เฉพาะทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี
 2 เดือนวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB1)*
วัคซีนโปลิโอชนิดหยอด (OPV1)
 4 เดือนวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB2)*ให้วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด 1 เข็ม พร้อมกับวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด 1 ครั้ง
วัคซีนโปลิโอชนิดหยอด (OPV2)
วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (IPV) 1 เข็ม
 6 เดือนวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB3)
วัคซีนโปลิโอชนิดหยอด (OPV3)
 9-12 เดือนวัคซีน หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR1)หากไม่ได้ฉีดเมื่ออายุ 9 เดือน ให้รีบติดตามฉีดโดยเร็วที่สุด
 1 ปีวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (LAJE1)
 1 ปี 6 เดือนวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP4)
วัคซีนโปลิโอชนิดหยอด (OPV4)
 2 ปี 6 เดือนวัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR2)
วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (LAJE2)
 4 ปีวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP5)
วัคซีนโปลิโอชนิดหยอด (OPV5)
 11 ปี (นักเรียน ป.5)วัคซีนเอชพีวี (HPV1, HPV2) , วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ฉีดห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน
 12 ปี (ป.6)วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT)
*ตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข ในกลางปี 2562 จะใช้วัคซีนรวม 5 โรคที่มี คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ แทนวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี

วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กเป็นวัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็กทุกคน เพื่อปกป้องพวกเขาจากโรคที่ร้ายแรงและอาจถึงแก่ชีวิตได้ วัคซีนเหล่านี้มักให้ฟรีหรือมีราคาไม่แพง และสามารถป้องกันโรคต่างๆ เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม โปลิโอ คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และตับอักเสบบี วัคซีนเหล่านี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องลูกของคุณจากโรคเหล่านี้ และช่วยให้พวกเขามีสุขภาพที่ดี

วัคซีน คืออะไร

วัคซีน (Vaccine) คือ สารชนิดหนึ่งที่ฉีดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค ในวัคซีนมีเชื้อโรคที่ไม่ทำให้เกิดโรค ได้มาจากส่วนประกอบของเชื้อโรค เชื้อโรคที่ตาย หรืออ่อนฤทธิ์แล้ว เมื่อร่างกายได้รับวัคซีน ก็จะมีคู่ซ้อมในการสร้างภูมิคุ้มกันโรค

เนื่องจากเชื้อโรคในวัคซีน ไม่ใช่เชื้อโรคจริง เม็ดเลือดขาวจะเสมือนได้ซ้อมต่อสู้กับเชื้อโรค หากเกิดการติดเชื้อโรคจริง ๆ ขึ้นมา เม็ดเลือดขาวที่เคยผ่านการต่อสู้มาแล้ว ก็จะชนะเชื้อโรคได้ ภูมิคุ้มกันจะจดจำการต่อสู้กับเชื้อโรคนั้น หากร่างกายได้รับเชื้อโรคชนิดเดิมซ้ำอีก มันจะถูกกำจัดอย่างรวดเร็ว เป็นการช่วยลดความร้ายแรง และลดอาการป่วยหนักจากโรค

วัคซีนไม่ใช่สารที่มีภูมิคุ้มกันโรค ความจริงแล้ว วัคซีนเป็นสารที่มีเชื้อโรคที่ไม่อันตรายต่อร่างกาย ซึ่งจะเข้าไปช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะต่อเชื้อโรคนั้น ๆ

วัคซีนพื้นฐานเพื่อประชาชนสุขภาพดี

การแพทย์แผนปัจจุบัน โดยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดบริการวัคซีนพื้นฐานที่เด็กไทยทุกคนควรได้รับ โดยเน้นวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันประกอบด้วยวัคซีน 8 ชนิด ได้แก่ วัคซีนวัณโรค (BCG) วัคซีนตับอักเสบบี (HB)วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB) วัคซีนโปลิโอ (OPV) วัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน(MMR) วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP) และวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT)

วัคซีน ควรฉีดให้ใคร ?

ใครควรรับวัคซีน ? วัคซีนกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนตั้งแต่มีการคิดค้นวัคซีนขึ้น เพื่อการดำรงชีวิตของเราตั้งแต่แรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ ทุกช่วงอายุมความจำเป็นในการรับวัคซีนทั้งสิ้น ตั้งแต่วัคซีนพื้นฐาน วัคซีนทางเลือก วัคซีนสำหรับผู้เดินทางต่างประเทศ วัคซีนไม่เพียงแค่ฉีดใหม่เท่านั้น แต่เป็นการฉีดกระตุ้นภูมิที่ลดลงด้วย อาจมีการฉีดกระตุ้นภูมิซ้ำทุกๆปี สำหรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ หรือวัคซีนป้องกันบาดทะยักที่ฉีดกระตุ้นภูมิทุกๆ 10 ปี

  • เด็กทารกแรกเกิด เด็กเล็ก
  • เด็กนักเรียน และวันรุ่น
  • สตรีมีครรภ์
  • ผู้ใหญ่ คนวัยทำงาน
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่ต้องทำงาน หรือรักษาผู้ป่วย อย่างใกล้ชิด
  • ผู้ที่ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมากเป็นต้น

รายการวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก

อัพเดทวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก 2566


*ที่มาข้อมูล:
  • เว็บไซต์ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เว็บไซต์องค์การอนามัยโลก (WHO)
  • เว็บไซต์กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • เว็บไซต์สถาบันวัคซีนแห่งชาติ
Shares:
Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *