กัญชาถูกปลดล็อกจากการเป็นสารเสพติดระดับหนึ่ง เพราะสารสกัดกัญชา มีสรรพคุณของกัญชาที่เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์และการรักษาผู้ป่วยจากผลการวิจัยต่างๆ การสกัดกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ได้เริ่มนำสารสกัดกัญชาเพื่อใช้รักษาผูู้ป่วยของโรคบางอาการที่ระบุไว้ชัดเจน และผู้ป่วยบางกลุ่มที่เริ่มทดลองการใช้สารสกัดกัญชารักษา
กัญชาในประเทศไทยขึ้นทะเบียนเป็นสารเสพติดประเภท 5 ภายใต้พระราชบัญญัติยาเสพติด พ.ศ. 2522 และไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายกัญชาทางการแพทย์

สารสกัดกัญชาใช้ทางการแพทย์ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
- สารสกัดกัญชาได้ประโยชน์ในการรักษา ซึ่งมีข้อมูลทางวิชาการที่สนับสนุนชัดเจน
- ภาวะคลื่อนไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
- โรคลมชักที่รักษายากในเด็กและโรคลมชักที่ดื้อยา
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกปราทเสื่อมแข็ง
- ภาวะปวดประสาทที่ใช้วิธีการรักษาอื่นๆแล้วไม่ได้ผล
- สารสกัดกัญชา น่าจะได้ประโยชน์ในการควบคุมอาการ ซึ่งควรมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนหรือการวิจับเพิ่มเติม ในประเด็นความปลอดภัยและประสิทธิผล เพื่อใช้สนับสนุนการนำมาใช้
- โรคพาร์กินสัน
- โรคอัลไซเมอร์
- โรควิตกกังวลทั่วไป
- ผู้ป่วยที่ต้องดูแลแบบประคับประคอง
- ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
- สารสกัดกัญชา อาจมีประโยชน์ในการรักษาแต่ยังขาดข้อมูลจากงานวิจัยสนับสนุนที่ชัดเจนเพียงพอ ในเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิผล ซึ่งต้องศึกษาวิจัยในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองก่อนนำมาศึกษาวิจัยในมนุษย์
- การรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ
การนำสารสกัดกัญชามาใช้ในทางการแพทย์ จำเป็นต้องคำนึงถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด