ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อย่างเต็มตัว โดยในปี 2563 สัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 18.3% ของประชากรทั้งหมด และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20.1% ในปี 2573 และ 23.4% ในปี 2583
ซึ่งทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หรือบางประเทศได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุเป็นเรียบร้อยแล้ว สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) หมายถึง สังคมที่มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยองค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดให้สังคมใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีปริมาณมากกว่า 10% ของประชากรทั้งหมด จึงจะเรียกว่า สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และสังคมใดมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 7% ของประชากรทั้งหมด เรียกว่า สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aging Society)
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะประสบกับปัญหาสุขภาพและความเสื่อมของร่างกาย เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคข้อเสื่อม โรคกระดูกพรุน เป็นต้น ผู้สูงอายุจึงมีความต้องการด้านการดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
รัฐบาลไทยได้ออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ เช่น พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 กฎหมายเหล่านี้กำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้สูงอายุในด้านต่างๆ เช่น สิทธิในการได้รับการดูแลสุขภาพ สิทธิในการได้รับการศึกษา สิทธิในการได้รับสวัสดิการสังคม สิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง และสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อดูแลผู้สูงอายุ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงมหาดไทย หน่วยงานเหล่านี้มีหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในสังคม และคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ
การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างสังคมที่เอื้ออาทรและยั่งยืน ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของสังคม เราสามารถเรียนรู้และนำประสบการณ์จากผู้สูงอายุมาพัฒนาตนเองและสังคมได้
โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และยังส่งผลต่อสุขภาพผู้สูงอายุในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอันมาก โดยโรคที่ปัญหาส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุ หรือผู้สูงวัย ส่วนใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของร่างกายและอวัยวะ
โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
เมื่ออายุเราก้าวย่างเข้าวัย 40 ปีขึ้นไป จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงเรื่องสุขภาพผู้สูงอายุที่ถดถอยมากขึ้น เริ่มจากสายตาที่ต้องใช้ระยะมากขึ้นในการโพกัสให้ชัด หรือที่เราเรียกว่า สายตายาว เป็นความเสื่อมถอยของกล้ามเนื้อตา เมื่ออายุมาก พออายุเข้าสู่วัย 50ปี ร่างกายก็จะเสื่อมถอยลงอีก ทำให้ผู้สูงอายุ หรือผู้สูงวัย มีโรคต่างๆ ตามมามากมายอย่างเห็นได้ชัด แต่ในขณะเดียวกันก็มีวิธีการดูแลและการรักษาทางการแพทย์ที่ดีขึ้น ทำให้อาการต่างๆที่เกิดขึ้นกับผู้สูงวัยดีขึ้นด้วย โดยโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ดังนี้
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคสมองเสื่อม
- โรคเบาหวาน
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคมะเร็ง
- โรคข้อเข่าเสื่อม
- โรคหลงลืม
- โรคซึมเศร้า
- โรคกระดูกพรุน
- โรคไตวาย
- โรคหูเสื่อม
- โรคตาเสื่อม
โรคเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุทุกคน แต่มีปัจจัยบางประการที่อาจทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เช่น พันธุกรรม พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ขาดการออกกำลังกาย โภชนาการที่ไม่ดี และความเครียด
โรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ โรคนี้เกิดจากการสะสมของไขมันและสารอื่นๆ ในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและตีบแคบลง ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจและสมองไม่เพียงพอ โรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจถี่ เหนื่อยง่าย ใจสั่น มึนงง หน้ามืด หมดสติ และอาจถึงแก่ชีวิตได้
โรคสมองเสื่อม
โรคสมองเสื่อมจะพบมากในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ เครียด ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ อาการสมองเสื่อมเกิดจากการเสื่อมของเซลล์สมอง และคนในครอบครับมีประวัติเป็นโรคสมองเสื่อม ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และยังมีโรคทางสมองอื่นๆที่พบมากในผู้สูงอายุ คือ โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคอัลไซเมอร์ และโรคหลอดเลือดสมอง
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน ก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปัสสาวะและกระหายน้ำบ่อย ดื่มน้ำในปริมาณมากต่อครั้ง อ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลดโดยไม่มีสาเหตุ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ตาพร่ามัว ตาบอด ไตเสื่อม ชาตามปลายมือปลายเท้า และอาจติดเชื้อได้ง่าย
โรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตของคนปกติ มีค่าประมาณ 120/80 – 139/89 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งหากมีความดันมากกว่านี้ จึงจะจัดว่าเป็นผู้ที่มีภาวะโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคนี้ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดง แต่บางครั้งอาจมีอาการใจสั่น ปวดศีรษะ หน้ามืด ตาพร่า ถ้าไม่รักษาตั้งแต่เริ่มต้น อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น อัมพฤกษ์ ตาบอด ไตวาย หัวใจวาย เป็นต้น
โรคมะเร็ง
โรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ดูได้จากสถิติโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งช่องปาก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง
ลำดับ | เพศชาย | เพศหญิง |
---|---|---|
1 | มะเร็งตับ | มะเร็งปากมดลูก |
2 | มะเร็งปอด | มะเร็งเต้านม |
3 | มะเร็งลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก | มะเร็งตับ |
4 | มะเร็งช่องปาก | มะเร็งปอด |
5 | มะเร็งต่อมลูกหมาก | มะเร็งลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก |
โรคข้อเสื่อม
ส่วนใหญ่โรคเกาต์พบมากในผู้สูงอายุชายมากกว่าหญิง อาการของ โรคเกาต์จะทำให้เกิดอาการปวดตามข้อกระดูก ซึ่งเกิดจากร่างกายสะสมกรดยูริกในร่างกายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตามข้อ ซึ่งคนแต่ละวัยมีระดับกรดยูริกในเลือดที่แตกต่างกัน เช่น ผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนจะมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าคนในวัยอื่นๆ หรือคนที่รับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เช่น เนื้อเป็ด เนื้อไก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วต่างๆ ก็เป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดกรดยูริกสะสมในร่างกายมากเกินไป
โรคหลงลืม
โรคหลงลืมในผู้สูงอายุ เป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก เป็นภาวะสมองเสื่อมที่ทำให้เกิดปัญหาด้านความจำ ความคิด พฤติกรรม และความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง โรคนี้มักเกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะขาดเลือดสมอง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะขาดวิตามินบี 12
โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อาการของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่โดยทั่วไปมักมีอาการดังต่อไปนี้
- รู้สึกเศร้า เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร
- ไม่อยากพบปะผู้คน ไม่อยากออกไปข้างนอก
- น้ำหนักขึ้นหรือน้ำหนักลงมากผิดปกติ
- นอนหลับมากหรือน้อยเกินไป
- รู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลียตลอดเวลา
- มีปัญหาในการคิด ตัดสินใจ หรือจดจ่อ
- คิดถึงเรื่องการตายหรือฆ่าตัวตาย
โรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุนเป็นโรคเรื้อรังที่กระดูกเปราะบางและแตกหักง่าย มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน โรคกระดูกพรุนเกิดจากกระดูกสูญเสียมวลกระดูกและโครงสร้างกระดูก ส่งผลให้กระดูกเปราะบางและแตกหักง่าย อาการของโรคกระดูกพรุนอาจไม่ชัดเจนจนกว่าจะเกิดกระดูกหัก กระดูกหักที่พบบ่อยในโรคกระดูกพรุน ได้แก่ กระดูกสันหลัง สะโพก กระดูกข้อมือ และกระดูกแขน โรคกระดูกพรุนสามารถป้องกันได้โดยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้กระดูกพรุน เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้ยาสเตียรอยด์ การรักษาโรคกระดูกพรุนมักเป็นการรักษาด้วยยา เช่น ยาเสริมแคลเซียม ยาเสริมวิตามินดี และยาต้านการอักเสบ การรักษาด้วยยาอาจใช้เวลาหลายปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคกระดูกพรุน
โรคไตวาย
โรคไตวายในผู้สูงอายุเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย สาเหตุของโรคไตวายในผู้สูงอายุมีหลายปัจจัย ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ การใช้ยาบางชนิด ประวัติครอบครัวเป็นเบาหวานหรือโรคไตวาย เป็นต้น อาการของโรคไตวายในผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะมีฟองมาก ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะน้อย บวมตามร่างกาย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดหลัง ปวดขา เป็นต้น การรักษาโรคไตวายในผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยบางรายอาจรักษาด้วยยาบางชนิด ผู้ป่วยบางรายอาจต้องฟอกไต หรือเปลี่ยนถ่ายไต การดูแลรักษาโรคไตวายในผู้สูงอายุมีความสำคัญมาก เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
โรคหูเสื่อม
โรคหูเสื่อมเป็นภาวะที่ความสามารถในการได้ยินลดลง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ สาเหตุของโรคหูเสื่อมมีหลายประการ ส่วนใหญ่เกกิดจาก การเสื่อมของเซลล์ประสาทหู และยังมีสาเหตุอื่นๆ เช่น การติดเชื้อในหู, การใช้ยาบางชนิด, ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, การบาดเจ็บที่ศีรษะ และ การทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง
โรคตาเสื่อม
โรคตาเสื่อมเป็นภาวะที่จอประสาทตาเสื่อมสภาพลง จอประสาทตาเป็นอวัยวะส่วนหลังของดวงตา มีหน้าที่รับภาพและส่งสัญญาณไปยังสมอง โรคตาเสื่อมสามารถทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
ผู้ชายสูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นโรคต่อมลูกหมากโตจนกดท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืน ปัสสาวะออกไม่หมดทำให้เหลือบางส่วนไว้ในกระเพาะปัสสาวะ อันเป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ ผู้หญิงสูงอายุ มักกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาจเกิดจากระบบประสาท สุขภาพจิต กระเพาะหรือทางเดินปัสสาวะผิดปกติ เช่น เกิดการอุดตัน การติดเชื้อ หูรูดไม่ดี
โรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อม จะพบมากในผู้สูงอายุผู้หญิงมากกว่าชายถึง 2 เท่า สาเหตุจากเกิดการใช้ข้อเข่ามานาน การรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไป อาการที่พบคือ การเจ็บปวดของข้อและข้อบวม อาการข้อขัด หรือรูปร่างขาโก่งผิดรูป เหยียดขาได้ไม่สุด โดยเฉพาะคนที่เล่นกีฬาหนักๆ หรือคนที่มีน้ำหนักตัวมาก อาจเป็นตัวส่งเสริมให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น
โรคกระดูกพรุน
โรคนี้มักเกิดกับผู้หญิงสูงอายุ โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน เป็นภาวะที่กระดูกมีความหนาแน่นน้อยลง ทำให้กระดูกบาง เปราะ และแตกหักง่าย อาการของโรคกระดูกพรุน ได้แก่ เสียวฟันเนื่องจากการร้าวของฟัน ฟันผุกร่อนหลุดร่วงง่าย หลังงุ้ม ส่วนสูงลดลง ขาหรือเข่าโก่งออกมากผิดปกติ ปวดเสียวบริเวณข้อต่อต่างๆ และมักปวดกระดูกสันหลัง สะโพก และกระดูกข้อมือ
โรคตา
โรคตาสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีอาการที่แตกต่างกัน แต่สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคตาเกิดจากความเสื่อม ด้วยอายุที่มากขึ้น ทำให้การมองเห็นลดลง โรคตาที่ผู้สูงอายุเป็นกันมาก คือ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคต้อกระจก โรคต้อหิน และน้ำวุ้นตาเสื่อม ดังนั้นเมื่อเกิดอาการผิดปกติ ควรรีบพบจักษุแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาได้อย่างถูกต้อง
โรคไต
ช่วงแรกโรคไตมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อไตเริ่มเสื่อมมากขึ้น จะทำหน้าที่ลดลง และเกิดการคั่งของเสียมากขึ้น และจะเริ่มแสดงอาการผิดปกติชัดเจนมากขึ้น เช่น อ่อนเพลีย แขนขาบวม เหนื่อยง่าย ความดันโลหิตสูง หากอาการเพิ่มมากขึ้น เช่น ตัวซีด คันตามตัว เบื่ออาหาร อาจนำไปสู่อาการไตวายเรื้อรัง ต้องทำการรักษาด้วยการล้างไต ฟอกเลือด และเปลี่ยนไตในที่สุด
โรคหัวใจขาดเลือด
สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคนี้มาจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พบมากในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ อ้วนลงพุง ขาดการออกกำลังกาย หรือคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจยิ่งทำให้มีโอกาสเป็นโรคสูงขึ้น อาการที่สำคัญคือ เจ็บแน่นหน้าอกระหว่างราวนม ลิ้นปี่ คล้ายมีอะไรมากดทับ หายใจไม่สะดวก อาจร้าวไปที่คอ กราม แขนซ้ายด้านใน และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น ดังนั้นเมื่อเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอกควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว
นอกจากโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุข้างต้นนี้แล้ว ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยขณะนี้ถือว่าน่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เพราะจากผลสำรวจในประเทศจีน พบว่า ผู้สูงอายุเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 และผู้ที่มีโรคประจำตัวเสี่ยงเสียชีวิตจากโควิด-19 สูงกว่าบุคคลทั่วไป ซึ่งผู้สูงอายุมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 15 % และผู้ที่มีโรคประจำตัวมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 10.5% นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงควรใส่ใจและระมัดระวังผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวจากเชื้อไวรัสโควิด-19 มากเป็นพิเศษ
การฉีดวัคซีนป้องกัน โรคโควิด-19 จึงจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง เพื่ลดการเสียชีวิต หรือลดความเสี่ยงในการเสี่ยชีวิตจ ากการได้รับเชื้อโรคโควิด-19 รายงานการฉีดในผู้สูงอายุในอเมริกา ช่วง 4 เดือน (14 ธ.ค.63-10 เม.ย.64) มีผู้สูงอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป ไก้รับการฉีดวัคซีนโควิดอย่างน้อย 1 เข็ม ประมาณ 17.7 ล้านคน และในอังกฤษ มีการศึกษาถึงการใช้วัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 90ปี (ถึงแม้ร้อยละของผู้สูงอายุที่เกิน 90 ปี ในการวิจัยอาจน้อยกว่ากลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุวัยต้นที่อายุน้อยกว่า 70 ปี)
ผู้สูงอายุควรดูแลสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเหล่านี้ สามารถทำได้โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา พักผ่อนให้เพียงพอ และตรวจสุขภาพเป็นประจำ และหากผู้สูงอายุมีอาการผิดปกติใดๆ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที
*ที่มาข้อมูล:
- เว็บไซต์ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
- เว็บไซต์องค์การอนามัยโลก (WHO)
- เว็บไซต์กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ตอบกลับ