การทำกายภาพบำบัด (Physical Therapy) คืออะไร ใครต้องทำ ทำแล้วได้อะไร
การทำกายภาพบำบัด ทางเลือกการฟื้นฟูร่างกายที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องการใช้ยาหรือการผ่าตัดในการรักษา เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางร่างกายจากสาเหตุต่างๆ นักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญมุ่งเน้นการบรรเทาการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ โดยใช้เทคนิคหลากหลาย เช่น การออกกำลังกาย การยืดกล้ามเนื้อ การประคบร้อน-เย็น การนวด การกระตุ้นไฟฟ้า และอื่นๆ
กายภาพบำบัด คืออะไร
กายภาพบำบัด คือ ศาสตร์ทางวิชาชีพสาขาหนึ่งทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาดูแลสุขภาพร่างกาย มีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ส่งเสริมการเคลื่อนไหว และบรรเทาอาการปวดด้วยวิธีการการส่งเสริม, ป้องกัน, รักษา และฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจ นักกายภาพบำบัดจะใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การยืดกล้ามเนื้อ การกระตุ้นไฟฟ้า การประคบร้อน/เย็น การนวด และเครื่องมือทางกายภาพบำบัด โดยใช้วิธีตามหลักวิทยาศาสตร์ และการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
กายภาพบำบัด พื้นฐาน
ความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์เบื้องต้น หรือ โครงสร้างของร่างกาย จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาด้วยกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดจำเป็นต้องเข้าใจกลไกการทำงานของกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ เส้นประสาท และระบบต่างๆ ของร่างกายอย่างถ่องแท้ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ออกแบบโปรแกรมการรักษาที่เหมาะสม และเลือกเทคนิคที่ตรงจุด
การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด
- การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ: ฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อที่ได้รับบาดเจ็บ
- โรคทางระบบประสาท: บรรเทาอาการชา อ่อนแรง ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดีขึ้น
- โรคทางอายุรกรรม: บรรเทาอาการปวดจากโรคข้อเสื่อม กระดูกพรุน ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว
- การฟื้นฟูหลังการผ่าตัด: ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูจากการผ่าตัด เร่งการสมานแผล และกลับมาใช้งานร่างกายได้อย่างปกติ
วิธีการรักษาทางกายภาพบำบัด
การรักษาทางกายภาพบำบัดมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและการตรวจประเมิน ระดับความรุนแรงของผู้มารับบริการ สิ่งสำคัญต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย ข้อห้าม ข้อควรระวังต่างๆ ในการใช้เครื่องมือในการรักษา เนื่องจากเครื่องมือทางกายภาพบ าบัดมีความหลากหลายจำเพาะแตกต่างกัน วัตถุประสงค์ในการรักษาคือ เพื่อบรรเทาอาการปวด เพิ่มการเคลื่อนไหวให้เป็นปกติหรือใกล้เคียง สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ วิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดที่ใช้ ได้แก่
- รักษาด้วยความร้อนตื้น (superficial heat therapy)
- การรักษาด้วยความร้อนลึก (deep heat therapy)
- รักษาด้วยความเย็น (cold therapy)
- การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง (ultrasound therapy)
- รักษาด้วยกระแสไฟฟ้า (electrical stimulator therapy)
- รักษาด้วยเครื่องดึงคอ (cervical traction machine therapy)
- การรักษาด้วยการดัดดึงข้อต่อ (mobilization technique)
- การออกกำลังกายเพื่อการรักษา (therapeutic exercise)
- การออกกำลังกายที่บ้าน (home program)
เจ้าหน้าที่/ผู้ช่วยนักกายภาพบำบัด ประจำห้องสอบถามอาการหรือสังเกตอาการระหว่างและหลังการรักษา เมื่อพบความผิดปกติให้รีบแจ้งนักกายภาพบำบัดทันที
วิธีการรักษาทางกายภาพบำบัด แบ่งตามกลุ่มอาการ
การรักษาทางกายภาพบำบัดแบ่งตามระบบ/อาการสำคัญของผู้ป่วย ผู้ป่วยหนึ่งรายอาจมีอาการสัมพันธ์หลาย
ระบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแนวทางการรักษาของนักกายภาพบำบัด นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับเครื่องมือในแต่ละแห่งที่
แตกต่างกัน โดยแยกการรักษาของแต่ละระบบ ดังนี้
1. ผู้ป่วยในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
- รักษาด้วยความร้อนตื้น (superficial heat unit)
- การรักษาด้วยความเย็น (cold pack)
- รักษาด้วยเครื่องกำเนิดความร้อนลึก (deep heat unit)
- รักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (electrical stimulator)
- รักษาโดยใช้เครื่องดึงหลังดึงคอ (lumbar and cervical traction machine)
- การออกกำลังกายเพื่อการรักษา (therapeutic exercise)
2. ผู้ป่วยในระบบประสาท
- การรักษาด้วยการออกกำลังกาย (therapeutic exercise)
- การฝึกท่าทางและการทรงตัว (posture and balance training)
- การฝึกการใช้งานในชีวิตประจำวัน (ADL training)
- การยืนโดยใช้เตียงปรับระดับ (standing in tilt table)
- การให้ความรู้สุขลักษณะ (education)
- โปรแกรมฝึกที่บ้าน หรือหอผู้ป่วย (home / ward program)
3. ผู้ป่วยในระบบทางเดินหายใจและทรวงอก
- การจัดท่าระบายเสมหะ (posture drainage)
- การเคาะปอด (percussion)
- การสั่นปอด (vibration)
- การเขย่าปอด (shaking)
- การฝึกไอ (coughing training)
- การออกกำลังการโดยการฝึกหายใจ (breathing exercise)
- การฝึกไอ huffing
กายภาพบําบัด มีอะไรบ้าง
ขั้นตอน การทำกายภาพบำบัด
เครื่องมือกายภาพบําบัด มีอะไรบ้าง
- เครื่องกำเนิดความร้อนลึกด้วยคลื่นสั้น (Shortwave diathermy machine)
- เครื่องกำเนิดความร้อนลึกด้วยคลื่นไมโครเวฟ (Microwave diathermy machine)
- เครื่องผลิตคลื่นเหนือเสียงเพื่อรักษา (Ultrasonic therapy machine)
- เครื่องกระตุ้นกระแสไฟฟ้า (Electrical stimulator)
- เครื่องผลิตกระแสไฟตรงเพื่อรักษา (Galvanic current therapy unit)
- เครื่องผลิตกระแสไซนูซอยดเพื่อรักษา (Sinusoidal current therapy unit)
- เครื่องผลิตกระแสฟาราดิคเพื่อรักษา (Faradic current therapy unit)
- เครื่องผลิตกระแสไดอะไดนามิคเพื่อรักษา (Diadynamic current therapy unit)
- เครื่องผลิตกระแสกระตุ้นประสาทผสานผิวหนัง (Transcutaneous nerve electrical stimulation หรือ TENS unit)
- เครื่องผลิตกระแสอินเตอร์เฟอเรนท์เพื่อรักษา (Interference therapy unit)
- เครื่องผลิตกระแสไฟตรงศักดาสูง (High Voltage Galvanic therapy unit)
- เครื่องผลิตกระแสไฟตรงเป็นช่วงๆ (Interrupted direct current) หรือ IDC therapy unit
- เครื่องผลิตกระแสแบบรัสเซีย (Russian current unit)
- เครื่องป้อนกลับทางชีวภาพ (Biofeedback unit)
- โคมไฟรังสีอุลตร้าไวโอเลต (Ultraviolet lamp) เฉพาะที่ใชโดยตรงตอรางกายมนุษย์
- ถังน้ำวนและอ่างน้ำวนสำหรับลําตัว (Whirlpool and Hubbard Tank)
- ถังแช่พาราฟิน (Paraffin wax bath unit)
- เครื่องแช่แผ่นเก็บความร้อน (Hydrocollator unit)
- เครื่องเป่าอาการศร้อนชื้น (Moist air heat therapy unit)
- เครื่องบําบัดแบบอณูไหล (Fluido therapy unit)
- เครื่องควบคุมแรงกดดันความเย็นเพื่อการรักษา (Cryo controller pressure therapy unit)
- เครื่องกดบีบสำหรับภาวะทางหลอดเลือด (Compressor unit for vascular condition)
- เครื่องผลิตแสงเลเซอร์กำลังต่ำ (Low power laser unit)
- เครื่องกระตุ้นแบบสนามแม่เหล็ก (Magnetic stimulator)
- เครื่องดึงกระดูกสันหลังไฟฟ้า (Electric traction machine)
- เตียงหมุนตั้งให้ตรง (Tilt table)
กายภาพบำบัดกล้ามเนื้อและกระดูก
การทำกายภาพบำบัดระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ มุ่งเน้นให้บริการครอบคลุมปัญหาเจ็บปวดทางกระดูกและข้อต่อรวมถึงความตึงตัวของเส้นประสาท แขน – ขา ในทุกเพศทุกวัย และทุกอาชีพ นักกายภาพบำบัดสามารถตรวจประเมินปัญหาทางกายภาพบำบัดด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด วางแผนการรักษา ให้การปรึกษา และให้การรักษาได้เหมาะสมกับสภาพปัญหาของผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ นอกจากนี้ทางศูนย์กายภาพบำบัดยังมีเครื่องมือตรวจการเคลื่อนไหวที่ทันสมัยในการวิเคราะห์โรค และมีเครื่องมือรักษาทางกายภาพบำบัดที่ได้มาตรฐานในการให้บริการ
กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ยังมีการขยายบริการไปถึงการดูแลทางด้านการบาดเจ็บทางการกีฬา และกระดูกสันหลังคดโดยนักกายภาพบำบัดที่ได้รับการฝึกอบรมจากสถาบันชั้นนำ
การทำกายภาพบําบัด ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออักเสบ
การทำกายภาพบําบัด ผู้ป่วยแขนขาอ่อนแรง
บทสรุป
การทำกายภาพบำบัด เป็นศาสตร์ที่มีประโยชน์มาก ช่วยให้ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ หากท่านมีปัญหาเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับ การทำกายภาพบำบัด ที่เหมาะสม และเรียนรู้ข้อห้ามการทำกายภาพบำบัด เรียนรู้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
*ที่มาข้อมูลและรูปภาพประกอบ:
- เว็บไซต์ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย (https://rehab.redcross.or.th/หน่วยงาน/งานกายภาพบำบัด/)
- เว็บไซต์ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (http://www.pt.ahs.chula.ac.th/)
- เว็บไซต์ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล (https://pt.mahidol.ac.th/ptcenter/therapy/musculoskeletal/)
- เว็บไซต์ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/dept/ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู/)
- เว็บไซต์สภากายภาพบำบัด (https://pt.or.th/PTCouncil/law/6/2.pdf)
- เว็บไซต์รูปภาพฟรี (https://www.freepik.com/)
- เว็บไซต์รูปภาพฟรี (https://www.pixabay.com/)
ตอบกลับ