ปัญหาสุขภาพจิต ไซโคพาท บุคคลที่บังคับให้โลกต้องหมุนรอบตัว
ไซโคพาท (Psychopath) หรือโรคจิต บุคลิกภาพบุคคลประเภทนี้ จะเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง ขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่แสดงออกทางอารมณ์และไม่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี โดยไซโคพาทจัดเป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ ในกลุ่มบุคลิกภาพต่อต้านสังคม (ASPD) หรือ Antisocial Personality Disorder
ไซโคพาท (Psychopath) เป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพ มีลักษณะเฉพาะที่แสดงพฤติกรรมต่อต้านสังคมอย่างต่อเนื่อง ความร่วมรู้สึกและความสำนึกผิดบกพร่อง ขาดการยับยั้งความละอาย และมีพฤติกรรมถือตนว่าสำคัญกว่าผู้อื่น ขาดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ขาดความสำนึกผิด ขาดความละอาย มักมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว หลอกลวง และเห็นแก่ตัว ไซโคพาทอาจพบได้ในสังคมทุกระดับ ซึ่งในสังคมปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคจิตเวชใช้ชีวิตปะปนอยู่ทั่วไป มีมากมายในสังคมเป็นบุคคลที่กระทำผิดต่อกฎหมาย กฎระเบียบของสังคม แต่โทษสังคมและบุคคลรอบข้างว่ากลั่นแกล้งตนหรือโทษผู้อื่นเป็นผู้กระทำผิด พบเห็นได้ทั่วไปตั้งแต่คนยากจนจนถึงคนร่ำรวย ไซโคพาทมักมีประวัติการละเมิดกฎหมายตั้งแต่เด็ก เช่น ขโมย ทำร้ายร่างกาย หลอกลวง ไซโคพาทบางคนอาจกลายเป็นอาชญากรร้ายแรง เช่น การทำร้ายร่างกาย หรือฆาตกรต่อเนื่อง
อาการโรคจิต หรือไซโคพาท
บุคคลที่มีภาวะไซโคพาท จะไม่รับผิดชอบต่อปัญหาใดๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต มองว่าปัญหาต่างๆ แม้กระทั่งปัญหาที่ตนเองได้ก่อขึ้น เป็นความผิดของผู้อื่นเสมอ จะแสดงอาการ ดังนี้
- มักแสดงออกจิตใจที่แข็งกระด้าง
- มีพฤติกรรมตอบสนองต่อความต้องการของตนเองเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจผู้อื่นในสังคม
- มีความผิดปกติทางอารมณ์และความคิดโดยเฉพาะเมื่อต้องเข้าสังคม
- มักเชื่อมโยงกับพฤติกรรมความรุนแรงซ้ำๆ และมีแนวโน้มการก่อให้เกิดอาชญากรรม
สาเหตุของโรคจิต หรือไซโคพาท
สาเหตุของการเกิดภาวะไซโคพาทยังไม่ทราบแน่ชัด การแสดงออกทางด้านจิตใจและสังคม แต่เชื่อกันว่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เช่น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และการเลี้ยงดู ที่อาจเกิดขึ้นจากวัยเด็กที่ขาดความรัก, ขาดความสนใจ, ไร้คำแนะนำจากผู้ปกครอง, ถูกกระทำทารุณในวัยเด็ก, ถูกเลี้ยงดูแบบละเลยเพิกเฉย, การเลี้ยงดูที่ไม่พึงประสงค์, อาชญากรรมในครอบครัว, ความแตกแยกในครอบครัว รวมถึงสภาพสังคมรอบตัวที่โหดร้าย
ไซโคพาท ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาเป็นเพียงการควบคุมพฤติกรรม การรักษาไซโคพาทมักใช้ยาร่วมกับการบำบัด
- ด้านทางกาย ได้แก่ มีความผิดปกติของสมองโดยเฉพาะส่วนหน้าและส่วนอะมิกดะลา ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง อุบัติเหตุทางสมอง พันธุกรรม
- ด้านจิตใจและสังคม ได้แก่ การถูกกระทำทารุณกรรมในวัยเด็ก การถูกเลี้ยงดูแบบละเลยเพิกเฉย อาชญากรรมในครอบครัว ความแตกแยกในครอบครัว สภาพสังคมรอบตัวที่โหดร้าย
การรักษาโรคจิต หรือไซโคพาท
ไซโคพาท เป็นหนึ่งภาวะความผิดปกติทางบุคคลิกภาพที่รักษาได้ยากและมักมีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี เพราะคนไข้ปฎิเสธการให้ความร่วมมือกับการทำจิตบำบัด จึงทำให้การบำบัดรักษาสุขภาพจิตมีประโยชน์ค่อนข้างน้อย ควรใช้ยาบำบัดและดูแลสุขภาพจิตตามคำแนะนำของจิตแพทย์
- การรักษาด้วยยา มีประโยชน์ในการรักษาโรคทางจิตเวชที่เกิดร่วมกับไซโคพาท
- การปรับพฤติกรรม เน้นการพัฒนาสิ่งที่สนใจในแง่ดี และการให้รางวัลเมื่อกระทำพฤติกรรมดี
- การลงโทษ มักไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้เนื่องจากอาการด้านชาทางอารมณ์
ไซโคพาท เป็นบุคคลอันตรายมั๊ย
ไซโคพาท เป็นหนึ่งของปัญหาสุขภาพจิต ที่เป็นกลุ่มคนที่มีอัตรความเสี่ยงสูงที่จะก่ออาชญากรรม ไซโคพาทอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม ไซโคพาทจึงควรได้รับการดูแลรักษาสุขภาพจิตจากผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด
โทรสอบถามข้อมูล ปรึกษาปัญหาเรื่องจิตเวช โทร 1323
*ที่มาข้อมูล:
- เว็บไซต์กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
- เว็บไซต์องค์การอนามัยโลก (WHO)
ตอบกลับ