น้ำมันกัญชา

กัญชา รักษาโรคมะเร็งได้ จริงมั๊ย
ยาและสมุนไพร

กัญชารักษาโรคมะเร็งได้.. จริงมั๊ย?

จริงหรือหลอก เรื่อง กัญชารักษาโรคมะเร็งได้ จากกรณีที่มีแชร์ข่าวในโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับการใช้กัญชารักษาโรคมะเร็ง ทำให้หลายต่อหลายคนที่กำลังเผชิญกับโรคร้ายนี้ ต่างเสาะแสวงหากัญชาเพื่อนำมารักษาโรคตามคำบอกเล่า แต่... กัญชารักษาโรคมะเร็งได้จริงหรือ?? “กัญชา” จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจะได้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มียาจากกัญชาได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)แต่อย่างใด เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยทางวิชาการในคนยืนยันว่าสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศได้ใช้กัญชาในทางการแพทย์ โดยมีข้อบ่งใช้ของยาใบบางอาการของโรค เช่น กัญชาใช้บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากการใช้เคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งกัญชาช่วยเพิ่มความอยากอาหารให้ผู้ป่วยโรคเอดส์กัญชารักษาภาวะปวดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และกัญชารักษาอาการปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามการนำกัญชามาสักด เพื่อทำยารักษาโรค
สารสกัดจากกัญชา สามารถรักษาโรคได้
ยาและสมุนไพร

สารสกัดกัญชา รักษาโรคอะไร?

กัญชาถูกปลดล็อกจากการเป็นสารเสพติดระดับหนึ่ง เพราะสารสกัดกัญชา มีสรรพคุณของกัญชาที่เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์และการรักษาผู้ป่วยจากผลการวิจัยต่างๆ การสกัดกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ได้เริ่มนำสารสกัดกัญชาเพื่อใช้รักษาผูู้ป่วยของโรคบางอาการที่ระบุไว้ชัดเจน และผู้ป่วยบางกลุ่มที่เริ่มทดลองการใช้สารสกัดกัญชารักษา กัญชาในประเทศไทยขึ้นทะเบียนเป็นสารเสพติดประเภท 5 ภายใต้พระราชบัญญัติยาเสพติด พ.ศ. 2522 และไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายกัญชาทางการแพทย์ สารสกัดกัญชาใช้ทางการแพทย์ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม สารสกัดกัญชาได้ประโยชน์ในการรักษา ซึ่งมีข้อมูลทางวิชาการที่สนับสนุนชัดเจน ภาวะคลื่อนไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรคลมชักที่รักษายากในเด็กและโรคลมชักที่ดื้อยา ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกปราทเสื่อมแข็ง ภาวะปวดประสาทที่ใช้วิธีการรักษาอื่นๆแล้วไม่ได้ผล สารสกัดกัญชา น่าจะได้ประโยชน์ในการควบคุมอาการ ซึ่งควรมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนหรือการวิจับเพิ่มเติม ในประเด็นความปลอดภัยและประสิทธิผล เพื่อใช้สนับสนุนการนำมาใช้ โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์