จริงหรือหลอก เรื่อง กัญชารักษาโรคมะเร็งได้ จากกรณีที่มีแชร์ข่าวในโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับการใช้กัญชารักษาโรคมะเร็ง ทำให้หลายต่อหลายคนที่กำลังเผชิญกับโรคร้ายนี้ ต่างเสาะแสวงหากัญชาเพื่อนำมารักษาโรคตามคำบอกเล่า แต่... กัญชารักษาโรคมะเร็งได้จริงหรือ?? “กัญชา” จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจะได้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มียาจากกัญชาได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)แต่อย่างใด เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยทางวิชาการในคนยืนยันว่าสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศได้ใช้กัญชาในทางการแพทย์ โดยมีข้อบ่งใช้ของยาใบบางอาการของโรค เช่น กัญชาใช้บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากการใช้เคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งกัญชาช่วยเพิ่มความอยากอาหารให้ผู้ป่วยโรคเอดส์กัญชารักษาภาวะปวดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และกัญชารักษาอาการปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามการนำกัญชามาสักด เพื่อทำยารักษาโรค
หมอแผนโบราณ
กัญชาถูกปลดล็อกจากการเป็นสารเสพติดระดับหนึ่ง เพราะสารสกัดกัญชา มีสรรพคุณของกัญชาที่เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์และการรักษาผู้ป่วยจากผลการวิจัยต่างๆ การสกัดกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ได้เริ่มนำสารสกัดกัญชาเพื่อใช้รักษาผูู้ป่วยของโรคบางอาการที่ระบุไว้ชัดเจน และผู้ป่วยบางกลุ่มที่เริ่มทดลองการใช้สารสกัดกัญชารักษา กัญชาในประเทศไทยขึ้นทะเบียนเป็นสารเสพติดประเภท 5 ภายใต้พระราชบัญญัติยาเสพติด พ.ศ. 2522 และไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายกัญชาทางการแพทย์ สารสกัดกัญชาใช้ทางการแพทย์ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม สารสกัดกัญชาได้ประโยชน์ในการรักษา ซึ่งมีข้อมูลทางวิชาการที่สนับสนุนชัดเจน ภาวะคลื่อนไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรคลมชักที่รักษายากในเด็กและโรคลมชักที่ดื้อยา ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกปราทเสื่อมแข็ง ภาวะปวดประสาทที่ใช้วิธีการรักษาอื่นๆแล้วไม่ได้ผล สารสกัดกัญชา น่าจะได้ประโยชน์ในการควบคุมอาการ ซึ่งควรมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนหรือการวิจับเพิ่มเติม ในประเด็นความปลอดภัยและประสิทธิผล เพื่อใช้สนับสนุนการนำมาใช้ โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์
กัญชา เป็นพืชที่ออกฤทธิ์ทางประสาท มีสารออกฤทธิ์สำคัญ คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ซึ่งมีฤทธิ์ต่อสมอง ควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของผู้เสพ ทำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้า เมื่อเสพจะต้องการปริมาณที่มากขึ้น ทำให้ความคิดอ่านช้า และสับสน ประสาทหลอน โดยเฉพาะการเสพกัญชาด้วยการสูบเพียง 4 มวน เท่ากับสูบบุหรี่ 20 มวน (1 ซอง) เสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากกว่าสูบบุหรี่ถึง 5 เท่า “กัญชา” ถูกควบคุมตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.
ที่มาของตำรับยากัญชา จากตำรับยาแผนไทย 4 กลุ่ม ตำรับยากัญชา จากตำรับยาชาติ สู่การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ จากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 เมื่อประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้ ประเทศไทย เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่อนุญาตให้ใช้ “กัญชา” เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้เผยแพร่ที่มาของ ตำรับยาไทยโบราณที่มีกัญชาผสม สู่การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในปัจจุบัน จากตำรับยาไทยกว่า 26,000 ตำรับ มีตำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 200 ตำรับ มีตำรับยาที่ผ่านการพิจราณา
การแพทย์แผนไทย องค์ความรู้ตั้งแต่สมัยโบราณแสดงให้เห็นว่าไม่ได้ล้าหลังหรือน้อยหน้าไปกว่าแพทย์แผนปัจจุบัน การใช้กัญชาเพื่อการรักษาทางการแพทย์แผนไทยมีมานาน เมื่อวันที่ 12 เม.ย.มีรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ.2562 เมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อการรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการ มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด และนำไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ของประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 58 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่7) พ.ศ.2562
พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ ทำให้กัญชาสามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ มีการเปลี่ยนแปลงตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ในสาระสำคัญกัญชายังเป็นยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย ส่วนการผ่อนปรนเพื่อให้นำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์หรือการศึกษาวิจัยได้ สำหรับประเด็นการนำเข้า ส่งออก จำหน่าย ครอบครอง อยู่ในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางการแพทย์เภสัชกรเป็นผู้ได้รับอนุญาต กัญชา คืออะไร? กัญชาเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง มีขนาดลำต้นสูงประมาณ 2-5 เมตร ลักษณะของใบกัญชาจะมีการแยกออกเป็นแฉก 5-8 แฉก โดยทุกแฉกจะมีรอยหยักเป็นเอกลักษณ์ มีดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ ตามกิ่งและก้านของต้นกัญชา มีลักษณะคล้าย กัญชง ส่วนของกัญชาที่นำมาใช้เป็นยาเสพติดก็คือ บริเวณใบ ยอดช่อดอกและกิ่งก้านที่นำมาตากแดดจนแห้ง แล้วบดให้ละเอียด จากนั้นก็นำมาใส่ในบ้องกัญชา